บิ๊กตู่ชี้รัฐ-เอกชนร่วมฟื้นเศรษฐกิจ ดึงผู้นำเอกชน 21 เขตเศรษฐกิจฝ่าวิกฤติ

พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศกลางเวที “ซีอีโอ ซัมมิต” ขอความร่วมมือภาคธุรกิจ 3 ประเด็นให้ร่วมมือฟื้นเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด-19 ประกอบด้วยนำเศรษฐกิจ BCG มาขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจ ให้ธุรกิจขนาดใหญ่ช่วยกันอุ้มธุรกิจขนาดเล็ก และการสร้างอาชีพใหม่ในเศรษฐกิจดิจิทัล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชนของเอเปก (APEC CEO Summit 2022) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ วันที่ 17-18 พ.ย.65 ได้เปิดฉากขึ้นแล้ว โดยมีผู้นำและบุคคลสำคัญระดับโลก ทั้งจากภาครัฐและเอกชนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ มาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเน้นการส่งเสริมการเปิดเขตเสรีการค้าและการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในทุกมิติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวปาฐกถาในพิธีเปิดการประชุม APEC CEO Summit ตามคำเชิญของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก (APEC Business Advisory Council: ABAC) ว่า ในฐานะที่เอเปก ซีอีโอ ซัมมิต เป็นหนึ่งในการรวมตัวของภาคธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค การกลับมาอีกครั้งของการประชุมในรูปแบบพบหน้ากัน ถือเป็นการส่งสัญญาณบวกให้แก่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และการที่ทุกท่านมาเข้าร่วมประชุมกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งในวันนี้ สะท้อนให้เห็นว่าภูมิภาคของเรากลับมาเดินหน้าทำธุรกิจอย่างเต็มที่อีกครั้งหลังจากที่ชะงักงันมาหลายปี และขณะที่โลกกลับมาเชื่อมโยงกันอีกครั้งในยุคหลังโควิด ไทยกำลังขับเคลื่อนความร่วมมือเอเปกในประเด็นที่ท้าทายและมีวิสัยทัศน์ได้แก่ ประเด็นการค้าและการลงทุนใหม่ๆ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ความจำเป็นในการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและการเดินทาง วาระความยั่งยืนของโลก โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจที่มีพลวัตสูงในปัจจุบัน ซึ่งประเด็นเหล่านี้ได้สะท้อนอยู่ในหัวข้อหลักของเอเปกปีนี้ คือ OPEN.CONNECT.BALANCE นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขอใช้โอกาสนี้นำเสนอ 3 ประเด็นที่เชื่อว่า ภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถร่วมมือกันได้อย่างเข้มแข็ง และเป็นทิศทางที่ไทยเชื่อว่าเป็นหนทางที่ภูมิภาคและโลกต้องก้าวไปให้ถึง หากเราจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากผลกระทบของโควิด-19 และเติบโตในระยะยาวอย่างสมดุล ยั่งยืน และครอบคลุม ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากภาคเอกชน การเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็ง ระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจ

ประเด็นแรก ขอให้นำเศรษฐกิจชีวภาพ หมุนเวียน สีเขียว (BCG) มาขับเคลื่อนการเจริญเติบโตเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นในระยะยาวควบคู่ไปกับการส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมอย่างครอบคลุม

เศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้งหาหนทางที่เหมาะสมให้ธุรกิจยังสามารถมีผลกำไรได้ และ การเงินการคลังที่ยั่งยืน ก็มีความสำคัญยิ่งต่องานของเรา ดังนั้น ภาคเอกชนสามารถมี บทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการเงินที่ยั่งยืนที่อิงกลไกตลาด ตราสารทางการเงิน และเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเงินทุนไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน เราจะสานต่อการทำงานเพื่อสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่เอื้อให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้ ประเด็นที่สอง การเจริญเติบโตที่ครอบคลุม เราต้องมั่นใจว่าเราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จึงขอให้หันมาให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน ต้องทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs) ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 98% ของธุรกิจทั้งหมด ในภูมิภาค และคิดเป็น 40-60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในเขตเศรษฐกิจเอเปกส่วนใหญ่ ให้ขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างนวัตกรรม ให้สามารถเข้าถึงตลาดและแหล่งเงินทุน ข่าวเศรษฐศาสตร์ ประเด็นที่สาม การมุ่งไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการสร้างอาชีพ ซึ่งประเทศไทยมีความกระตือรือร้นที่จะต้อนรับการลงทุน และแรงงานที่มีทักษะ และแรงงานขั้นสูงในภาคอุตสาห กรรมนี้ โดยมีมาตรการจูงใจทั้งทางภาษีและไม่ใช่ภาษี และเมื่อไม่นานมานี้ได้เปิดตัวโครงการตรวจลงตราประเภทผู้พำนักระยะยาว 10 ปี พร้อมสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล นอกจากนี้ไทยได้จัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (อีอีซีดี) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและนวัตกรรมของภูมิภาค.

แนะนำข่าวเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : เศรษฐศาสตร์ “ต้นแบบ” ในรัชกาลที่9 พระอัจฉริยภาพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน